รอบรู้เรื่องท่อ
ท่อ Chiller คืออะไร
September 8 , 2020
ความหมายของท่อ Chiller
ท่อ ชิลเลอร์ หรือ ท่อ Chiller คือระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำเย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่กระจายอยู่ตามห้องต่างๆ ของอาคาร
หลักการทำงานของท่อ Chiller
ด้วยหลักการทำงานของ ท่อ Chiller คือจะนำสารทำความเย็น (ก๊าซเย็นความดันต่ำ) ที่อยู่ในสภาวะไออิ่มตัว (อัดตัวอยู่ที่ Compressor) จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องอัด จนมีสภาวะเป็นไอร้อน (Superheated Vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นสาร ทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่น (Condenser) เพื่อถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็น ของเหลวอิ่มตัวที่มีความดันสูง ต่อจากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านไปยังอุปกรณ์ขยายตัว (อุปกรณ์ลดแรงดัน) โดยสารทำความเย็นจะมี 2 สถานะ คือ ของเหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ หลังจากนั้นจะถูกส่งผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) ทำให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากการโหลดนั้นๆ และกลายสภาพเป็นไออิ่มตัว ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ หมุน เวียนเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง
ระบบส่งน้ำเย็นนี้อาศัยท่อน้ำเย็น (Chilled Water Pipe) มีทั้งท่อส่งน้ำเย็น (Supply Chilled Water Pipe) และท่อน้ำเย็นกลับ (Return Chilled Water Pipe) ซึ่งจะต้องหุ้มฉนวน เพื่อป้องกันน้ำเกาะท่อ (Condensation) เนื่องจากความเย็นของท่อ จะทำให้ความชื้น ที่อยู่ในอากาศมาเกาะเป็นหยดน้ำที่ท่อ
Water Cooled Water Chiller ในกรณีที่โครงการมีขนาดใหญ่ และมีความต้องการความเย็นมาก มักจะนิยมใช้เครื่องทำน้ำ เย็นชนิดนี้ เพราะจะมีเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงให้เลือกใช้ (0.62 – 0.75 กิโลวัตต์/ตัน) ทำให้ได้ระบบปรับอากาศที่กินไฟน้อย กว่าเครื่องแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ระบบนี้จะต้องมีหอระบายความร้อน และจะต้องมั่นใจว่ามีน้ำเพียงพอ มีคุณภาพเหมาะสม กับการนำมาเติมที่หอระบายความร้อน
ในอดีตมักจะใช้ท่อเหล็กมาใช้ในระบบ ท่อChiller แต่เมื่อใช้งานนานไปมักประสบปัญหาท่อผุ เป็นสนิมและเกิดปัญหารั่วในที่สุด ปัจุบันจึงมีการนำท่อ PPR เข้ามาใช้ทดแทนเนื่องสามารถทนแรงดัน และรองรับอุณหภูมิความร้อนได้ อีกทั้งยังมีราคาถูกและไม่เป็นสนิม มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า